นอนไม่หลับ เป็นบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตให้มีสุขภาพที่ดี โดยคนเราต้องการการพักผ่อนที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับช่วงอายุ ซึ่งสำหรับวัยผู้ใหญ่ เราควรนอนหลับให้ได้วันละประมาณ 7-8 ชั่วโมงจึงจะเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้มีปัจจัยหลากหลายที่ส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับของบางคนแย่ลง อาการนอนไม่หลับจึงเป็นปัญหาที่หลาย ๆ คนกำลังเผชิญอยู่โดยไม่รู้ว่าต้นเหตุมาจากไหน และเราจะสามารถแก้ไขได้อย่างไร ซึ่งอาการนอนไม่หลับนี้ หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลเสียร้ายแรงให้กับร่างกาย จะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามได้ที่บทความนี้
นอนไม่หลับ เกิดจากอะไร?
ก่อนเราจะไปดูกันว่าอาการนอนไม่หลับส่งผลเสียอย่างไรบ้างกับร่างกาย เราไปดูปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับกันก่อน ที่จริงและอาการนอนไม่หลับหรือ Insomnia สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยเราสามารถแบ่งออกเป็น 7 อย่างย่อย ๆ ดังนี้
- ปัญหาสภาพแวดล้อมในห้องนอนไม่เหมาะสม เช่น มีเสียงดังรบกวน มีแสงสว่าง อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป ทำให้นอนหลับได้ยาก
- มีอาการเจ็บป่วย เช่น ปวดท้อง ปวดตามเนื้อตัว เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ มีปัญหาเรื่องระบบการหายใจ เป็นต้น
- มีความเครียด อาการวิตกกังวล หรือมีอาการซึมเศร้าสะสม
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สูบบุหรี่ หรือการใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลเกี่ยวต่อการนอนหลับ
- มีอาการท้องว่าง ทำให้หิวขึ้นมาในช่วงดึก หรืออิ่มมากเกินไป ทำให้มีอาการแน่นท้องกลางดึก
- มีปัญหาภาวะการนอนหลับ เช่น การนอนละเมอ ฝันร้าย หรือนอนไม่หลับจนติดเป็นนิสัย
- เข้านอนและตื่นนอนไม่ตรงเวลา โดยเฉพาะในคนที่การงานที่ต้องเปลี่ยนเวลาการนอนอยู่สม่ำเสมอ หรือทำงานเป็นกะ เช่น พยาบาล และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
มากไปกว่านั้น สำหรับเพศชายที่มีอาการนอนไม่หลับ อาจเป็นผลมาจากโรคที่ร้ายแรงมากกว่านั้น นั่นคือ โรคต่อมลูกหมากโตนั่นเอง ต่อมลูกหมากโตเป็นภาวะที่ต่อมลูกหมากเพศชายมีขนาดใหญ่ผิดปกติทำให้ไปเบียดท่อปัสสาวะให้ตีบแคบลงส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดขณะถ่ายปัสสาวะ หรือปัสสาวะมีเลือดปน ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลต่อการนอนหลับ ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ หรือนอนหลับไม่มีคุณภาพอีกด้วย
อาการนอนไม่หลับแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
โรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia เราสามารถแบ่งออกเป็นประเภทได้ 3 ประเภท ตามลักษณะของการนอนไม่หลับ ได้แก่
- Initial insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยใช้นานกว่าจะสามารถหลับ ซึ่งภาวะนี้อาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล
- Maintinance insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ยาว มีการตื่นขณะนอนอยู่บ่อย ๆ ซึ่งอาจเป็นผลมากจากปัญหาอื่น ๆ ทางกาย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- Terminal insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น โดยอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับจากภาวะซึมเศร้า
มากไปกว่านั้น ประเภทของอาการนอนไม่หลับเรายังสามารถแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรคได้อีกด้วย โดยจะแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
- Adjustment insomnia (โรคการนอนไม่หลับจากการปรับตัว) ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการนอนไม่หลับอย่างฉับพลันตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น มีความเครียด, ปัญหาวิตกกังวล, สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามเมื่อปัจจัยเหล่านี้หายไป ผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับก็อาจหายเป็นปกติได้
- Chronic insomnia (โรคการนอนไม่หลับเรื้อรัง) ผู้ป่วยจะมีภาวะนอนไม่หลับประเภทนี้ คือผู้ที่นอนไม่หลับอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์และเป็นมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งหากใครที่มีอาการเช่นนี้ ไม่ควรปล่อยไว้ แนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
นอนไม่หลับส่งผลเสียต่อร่างกาย อาการแบบไหนควรพบแพทย์
หากคุณกำลังมีอาการนอนไม่หลับอยู่บ่อย ๆ จนเป็นปัญหากวนใจและเริ่มมีผลกระทบด้านลบเกิดขึ้นกับร่างกาย ให้ลองสังเกตตัวเองแล้วรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขได้ทันเวลา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีภาวะนอนไม่หลับจะมีอาการดังนี้
- อ่อนเพลียไม่กระฉับกระเฉง
- ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความจำเปลี่ยนแปลง
- ความสามารถในการทำงานลดลง
- อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย
- ง่วงนอนบ่อยในช่วงเวลากลางวัน
- ขาดพลังในการใช้ชีวิตรู้สึกไม่สดใส
- กังวลเกี่ยวกับปัญหาการนอนที่เกิดขึ้น
โรคร้ายที่มักมากับอาการ นอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ คนทั่วไปมักจะคิดว่าโรคนอนไม่หลับอาจหายไปเองได้จึงไม่ได้ไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข แต่รู้หรือไม่ว่าอาการนอนไม่หลับเรื้อรังส่งผลลบต่อสุขภาพของเราได้มากมายทั้งปัญหาด้านสุขภาพจิตและปัญหาด้านสุขภาพกาย โดยสามารถทำให้เกิดปัญหาได้ ไม่ว่าจะเป็น ความจำและการเรียนรู้เสื่อมถอย, มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย, มีปัญหาทางพฤติกรรม เช่น อยู่ไม่สุข (hyperactivity) หรือก้าวร้าว เป็นต้น นอกจากนี้การนอนไม่หลับเรื้อรังก็อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น
- โรคหัวใจ
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน
- โรคสมองเสื่อม
- อัมพฤกษ์ อัมพาต
- โรคง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน
- สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
- โรคอ้วน น้ำหนักตัวเพิ่ม
วิธีแก้และปฏิบัติตัว หากนอนไม่หลับ
จะเห็นได้ว่าอาการนอนไม่หลับส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย ในการรักษาอาการนอนไม่หลับ เราสามารถเริ่มต้นง่าย ๆ ได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราเพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดีในการนอน เช่น เข้านอนและตื่นตรงเวลาเป็นประจำ สร้างบรรยากาศห้องนอนให้เงียบสงบไม่ร้อนไปหรือหนาวไป หลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ตก่อนเข้านอน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากเราลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราแล้วยังไม่ได้ผล ก็อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาให้ทันท่วงที ปรึกษาเราที่ EEU CLINIC เราเป็นผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาด้าน Health และ Well-being ในผู้ชายและผู้หญิง พร้อมมอบบริการการรักษาทางเลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การแพทย์แผนไทย การใช้ธรรมชาติบำบัด การแพทย์ทางเลือก เป็นต้น หากคุณกำลังมีปัญหาด้านสุขภาพ ปรึกษาเราได้ทันที เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำคุณอย่างเต็มใจ