โรคต่อมลูกหมากโต สังเกต 6 สัญญาณเตือน คุณผู้ชายไม่ควรมองข้าม อายุมากขึ้น ร่างกายก็เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา จากที่เคยแข็งแรง ฮอร์โมนก็ค่อยๆ ลดลงไป ทำให้อารมณ์ , ร่างกาย และจิตใจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งหนึ่งในโรคที่ผู้ชายอายุ 45 – 60 ปีขึ้นไปต้องระวังให้ดี คือต่อมลูกหมากโต เพราะชายไทยส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคนี้เกือบ 80% รองลงมาคือโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 18% ดังนั้นต้องมีการสังเกตอาการของร่างกาย หากพบความผิดปกติต้องรีบพบแพทย์ทันที เราจึงนำ 6 สัญญาณเตือนของต่อมลูกหมากโต มาบอกกัน
โรคต่อมลูกหมาก คืออะไร?
โรคต่อมลูกหมากโต (BPH – Benign Prostatic Hyperplasia) คือภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ โดยขนาดปกติของต่อมลูกหมากจะมีขนาดเท่ากับผลวอลนัท ส่วนตำแหน่งของลูกหมากจะอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากจะทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวที่ประกอบไปด้วยอสุจิ และมีการห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนบนไว้ ทำให้เมื่อต่อมลูกหมากโตจะเกิดการกดทับท่อปัสสาวะ มีการตีบเล็กลง การปัสสาวะติดขัด อีกหนึ่งสาเหตุ คือกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น เนื่องจากต้องบีบตัวแรงเพื่อให้ปัสสาวะผ่านท่อแคบๆ ไปได้ และยังทำให้การกักเก็บน้ำปัสสาวะลดลง คนไข้จึงมีอาการถ่ายปัสสาวะบ่อย หรือทำให้ปวดแบบกะทันหันได้ โรคนี้เกือบ 50% มักเกิดขึ้นกับผู้ชายที่อายุประมาณ 60 ปี
สาเหตุของการเกิดต่อมลูกหมากโต
สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต มีดังนี้
- การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
- ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis)
- ท่อปัสสาวะตีบ (Urethral Stricture)
- แผลเป็นในคอกระเพาะปัสสาวะที่เป็นผลมาจากการผ่าตัดก่อนหน้า
- กระเพาะปัสสาวะหรือนิ่วในไต
- ปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ
- มะเร็งต่อมลูกหมากหรือกระเพาะปัสสาวะ
6 สัญญาณเตือน เสี่ยงเกิดโรคต่อมลูกหมาก
ต่อไปลองมาดูสัญญาณเตือนของโรคต่อมลูกหมาก มีดังนี้
- สัญญาณที่ 1 ปัสสาวะบ่อยขึ้น คนปกติทั่วไป จะมีการปัสสาวะต่อวันอยู่ที่ 3-4 ครั้ง แต่หากอยู่ในที่อากาศเย็น หรือดื่มน้ำเยอะ จะอยู่ที่วันละ 7-8 ครั้งต่อวัน แต่สำหรับผู้ที่มีอาการต่อมลูกหมากโต อาจปัสสาวะวันหนึ่งมากกว่า 10 ครั้ง หากใครเป็นเช่นนี้ ต้องสังเกตอาการตัวเองให้ดี
- สัญญาณที่ 2 ตื่นมาปัสสาวะ เมื่อมีอาการปัสสาวะบ่อยแล้ว สิ่งที่ตามมาคือคุณจะปวดปัสสาวะในขณะนอนหลับ แต่ต้องตื่นมากลางดึก และเป็นเช่นนี้หลายครั้งต่อคืน ส่งผลต่อปัญหาการนอนหลับของคุณได้
- สัญญาณที่ 3 ปัสสาวะติดขัด ข้อนี้จะเป็นสัญญาณแห่งความเจ็บปวด เพราะคุณจะปัสสาวะลำบากในช่วงเริ่ม และต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะสามารถปัสสาวะออกมาได้อย่างปกติ เป็นอาการที่ทรมานพอสมควร
- สัญญาณที่ 4 ปัสสาวะเบา เคยสังเกตมั้ย? ตอนอายุน้อยๆ ปัสสาวะแต่ละทีเสียงดัง และออกมาแรงมาก แต่พออายุมากขึ้น ปัสสาวะเบา และอ่อนแรง บางรายมีอาการปัสสาวะขัดด้วย
- สัญญาณที่ 5 ปัสสาวะหยด เป็นอาการปัสสาวะหยด หลังปัสสาวะเสร็จ
- สัญญาณที่ 6 ปัสสาวะไม่สุด ปกติคนเราเมื่อปัสสาวะเสร็จ จะรู้สึกโล่งสบาย แต่สำหรับคนมีปัญหาต่อมลูกหมาก จะรู้สึกปัสสาวะไม่สุด และจะรอคอยให้ปัสสาวะซ้ำอีกครั้ง
การวินิจฉัย “โรคต่อมลูกหมาก”
แพทย์จะมีการวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมาก โดยเริ่มจากการซักประวัติผู้ป่วยและตรวจร่างกาย แพทย์อาจใช้การตรวจร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
- การตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam: DRE) แพทย์จะมีการใช้นิ้วสอดเข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อดูว่าต่อมลูกหมากมีขนาดหรือความผิดปกติหรือไม่
- การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) แพทย์จะใช้การตรวจปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์ตัวอย่างปัสสาวะ เพื่อวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อหรือมีโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกับต่อมลูกหมากโตได้หรือไม่
- การตรวจเลือด ต้องมาดูผลจากการตรวจเลือด ว่าสามารถวินิจฉัยได้ว่าไตกำลังมีปัญหาหรือไม่
- การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate-Specific Antigen: PSA) แพทย์จะตรวจหาสารแอนติเจนต่อมลูกหมากที่ผลิตจากต่อมลูกหมาก หากพบระดับของสารแอนติเจนต่อมลูกหมากเพียงเล็กน้อยและกำลังสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณว่า ผู้ป่วยกำลังเป็นต่อมลูกหมากโต
แนวทางการรักษาต่อมลูกหมากโต
สำหรับแนวทางการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต มีดังนี้
- การรักษาด้วยยา
- การผ่าตัดส่องกล้อง (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์)
- การรักษาด้วยเลเซอร์
- การย้ายหรือยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะ (PUL)
- การผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้หุ่นยนต์หรือแบบเปิด
- การปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญ
จะเห็นได้ชัดว่าโรคต่อมลูกหมากโต เป็นโรคที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับผู้ชาย เพราะสร้างความเจ็บปวด และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ สำหรับใครที่อยากปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ เรามีทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์จากทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ถือเป็นเจ้าแรกที่มีการใช้ยาที่นำเข้าจากต่างประเทศและที่มีอยู่ในไทย มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา และมีการบริการที่เป็นเลิศ คุณสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม ตามที่เราแนะนำได้เลย
หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจ ต่อมลูกหมากโต และสังเกตอาการของตัวเองมากขึ้น หากเช็คแล้วตัวเองมีสัญญาณเตือนตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป ถึงเวลาที่คุณต้องพบแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำและวินิจฉัยโรคเบื้องต้น