แผนไทยประยุกต์
กักน้ำมัน
หลักการ
น้ำมัน + ความร้อน
กลุ่มอาการที่ใช้รักษา
มักใช้กับกล้ามเนื้อที่ตึงมาก ๆ หรือเจ็บง่าย เช่น รองช้ำ หัวไหล่ติด ลมเสียดสะโพก ลมจับโปงแห้งเข่า หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอาการอักเสบเนื่องจากเป็นหัตถการที่ร้อน
ข้อควรระวัง
- ผู้ไข้ที่มีกำเดาสูง
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในขณะนั้น
- ผู้ไข้ที่เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
- ผู้ไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน
- ผู้ไข้ที่ทนความร้อนไม่ได้
- บริเวณผิวหนังอ่อน มีแผลเปิด หรือมีการอักเสบ
ขั้นตอนการทำหัตถการ
- วางแผ่นสำลีบริเวณที่จะทำหัตถการ
- สเปรย์นํ้ามันลงไปที่สำลี เว้นขอบเล็กน้อย
- สเปรย์น้ำมันให้ชุ่ม
- เป่าด้วยเครื่องเป่าลมร้อน
- ยกสำลีขึ้นเพื่อพักไม่ให้ร้อนเกินไป
- กลับด้านสำลีและเป่าลมร้อนอีกครั้ง
ทำข้อ 1-6 ซ้ำ ประมาณ 60 นาที คลำความร้อนและกล้ามเนื้อผู้ป่วยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ใหผู้้ป่วยร้อนเกินไป และประเมินการคลายตัวของกล้ามเนื้อ
ข้อควรระวังขณะทำหัตถการ
- ระยะห่างระหว่างเครื่องเป่าลมร้อนกับผิวผู้ป่วย
- ระดับความร้อนของเครื่องเป่าลมร้อน
หากผู้ป่วยทนความร้อนไม่ไหวให้ยกสำลีออก พยายามไม่เคลื่อนไหว เพื่อป้องกันน้ำมันไหลไปสัมผัสบริเวณอื่น
- Categories
- แพทย์แผนไทยประยุกต์